กำหนดการและรายละเอียด การประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2559

วัตถุประสงค์

  1. เผยแพร่ข้อมูลและสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งในระดับสากล ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
  2. นำเสนอผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์และแนวทางการเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับต่างๆตลอดห่วงโซ่
  3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ประสานความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรประชาชนในท้องถิ่น เพื่อการบริโภคผักและผลไม้อย่างปลอดภัย
  4. ขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายที่นำไปสู่ความปลอดภัยในระบบการเกษตรและอาหาร ต่อผู้กำหนดนโยบาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้าร่วมงานประมาณ 500 คน ประกอบด้วย

  1. นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัย และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย อาทิ สภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) จำนวน 80 คน
  2. ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่กำหนด/กำกับนโยบายด้านการจัดการวัตถุอันตรายทางการเกษตรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 80 คน
  3. ผู้แทนจากภาคธุรกิจ จำนวน 40 คน
  4. ผู้แทนจากองค์กรสาธารณะประโยชน์ จำนวน 50 คน
  5. ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 60 คน
  6. เครือข่ายเกษตรกร จำนวน 80 คน
  7. ผู้สนใจทั่วไป จำนวน 80 คน
  8. สื่อมวลชน จำนวน 30 คน

รูปแบบและรายละเอียดกิจกรรม

รูปแบบการจัดงานคือ เป็นการนำเสนอผลงานทางวิชาการ  การอภิปรายในประเด็นที่กำหนดไว้และ การจัดแสดงนิทรรศการ นวัตกรรม  ผลิตภัณฑ์ และสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาหลักของการจัดการประชุมวิชาการแบ่งเป็น 4 ประเด็นได้แก่

  1. การนำเสนอสถิติ สถานการณ์และปัญหาของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
    • สถานภาพและรายงานการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ของประเทศไทย
    • สถานการณ์และปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระดับท้องถิ่น
    • สถานการณ์และผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
    • สถานการณ์ ปัญหา และข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระหว่างประเทศ
  2. ข้อเสนอนโยบายเพื่อยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง และความก้าวหน้าในการดำเนินการ
  3. ข้อเสนอทางกฎหมายในการจัดการสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งระบบ :(ร่าง)พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางการเกษตรจากการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  4. ผลการศึกษาวิจัยในด้านเศรษฐศาสตร์ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสังคม ของสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ และองค์กรต่างๆ
  5. ประสบการณ์ แนวทางและข้อเสนอในการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับชุมชน โดยท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคีเครือข่าย เพื่อการบริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดภัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทำให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผักผลไม้ และมีกลไกที่ทำให้เกิดการยอมรับร่วมกันเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางอาหาร
  2. ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจและสนับสนุนให้มีพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางการเกษตรจากการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช นำไปสู่การนำเสนอต่อรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. เกิดความร่วมมือในการหาทางออกจากปัญหาผลกระทบจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและขยายความร่วมมือในระดับท้องถิ่น

องค์กรจัดงาน

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network)

 

กำหนดการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

“ฟื้นต้นน้ำให้ปลอดพิษ สร้างระบบอาหารให้ปลอดภัย”

ณ ศูนย์ประชุม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559

เวลา กิจกรรม
08.00-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.15 น. กล่าวเปิด โดย ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
09.15-10.00 น. งานวิจัยผลกระทบของไกลโฟเสทและบทเรียนจากการแบนไกลโฟเสทในประเทศศรีลังกา

Dr.Channa Jayasumana MD-PhD
Department of Pharmacology, Faculty of Medicine, Rajarata University of Sri Lanka

10.00-11.00 น. รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

– สถานการณ์การนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการตกค้างในผลผลิต

ปรกชล อู๋ทรัพย์ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

– ผลการศึกษาเบื้องต้น การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการประมาณผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ชยุตม์ พินิจค้า สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

– สถานการณ์โรคและการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ดร.นพ.ปรีชา เปรมปรี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

– สถานการณ์นโยบายสารเคมีกำจัดวัชพืชระหว่างประเทศ

ภาวิณี วัตถุสินธุ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ผู้ดำเนินรายการ นพ.พรหมพิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง

11.00-11.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
11.15-13.00 น. เสวนา : จากต้นน้ำสู่ครรภ์มารดา: ปัญหาการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้นน้ำ และผลการวิจัยการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในแม่และทารก

– รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

– สุวรรณ นันทศรุต กรมควบคุมมลพิษ

– วรพจน์ ประทีปรัตน์ สำนักงานจังหวัดน่าน

– ศ.ดร.พรพิมล กองทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

– ผศ.ดร.สุพัตรา ปรศุพัฒนา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ดำเนินรายการ ทิพย์รัตน์ นพลดารมย์     ​

13.00-14.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
14.00-15.30 น. เสวนา : ข้อเสนอยกเลิกและจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 3 ชนิด

– ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

– ศรัณย์ วัธนธาดา กรมวิชาการเกษตร

– มโนรัตน์ ฤทธิ์เต็ม กรมควบคุมมลพิษ

– ดร.นพ.ปรีชา เปรมปรี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

– ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม กรมอนามัย

ผู้ดำเนินรายการ  กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

15.30-15.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.45-17.00 น. เสวนา : ปัญหา การจัดการ และนโยบายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระดับท้องถิ่น

– ปัทมา ราตรี คณะทำงานเครือข่ายลดการใช้สารเคมีในการเกษตร จังหวัดยโสธร

– วิรัตน์ สุขกุลและพรณรง ปั้นทอง สภาองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ

– สันติชัย ชายเกตุ กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดพัทลุง

– ภก.พันธ์เทพ เพชรผึ้ง โรงพยาบาลเวียงสา จังหวัดน่าน

– มารุต จาติเกตุ มูลนิธิการศึกษาไทย

ผู้ดำเนินรายการ อุบล อยู่หว้า

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2559
เวลา กิจกรรม
09.00-10.30น. เสวนา: แนวทางการเฝ้าระวังร่วมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการเตือนภัยสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ที่มีประสิทธิภาพ

– ปรกชล อู๋ทรัพย์ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

– ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

– จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

– พิมพรรณ เงินเทศ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

– นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ ที่ปรึกษาอาวุโส ฝ่ายวิชาการเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ผู้ดำเนินรายการ กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา

10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.45 น. อภิปราย: พ.ร.บ.ความปลอดภัยจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช การจัดการสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งระบบ

– ดร.ศราภา ศุทรินทร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

– ธีระ วงษ์เจริญ สภาเกษตรกรแห่งชาติ

– จารึก ศรีพุทธชาติ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร

– ศรันย์ วัธนธาดา กรมวิชาการเกษตร

– อมรรัตน์ ลีนะนิธิกุล ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี

– ดร.นพ.ปรีชา เปรมปรี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

ผู้ดำเนินรายการ รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์

12.45-13.30 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30-15.30น.​ งานวิจัยและนวัตกรรมชุมชน

– Can we drink water from Nan? : นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์

– การประเมินความเสี่ยงการได้รับสารตกค้างและสารปนเปื้อนจากการบริโภคอาหารของคนไทย

: วิชาดา จงมีวาสนา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

– รูปแบบการเสริมสร้างพลังเยาวชนเพื่อเปลี่ยนแปลงชุมชนในการลด ละ เลิกการใช้สารเคมี

: นิตยา หาญรักษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวน้อย

– นวัตกรรมการจัดการวัชพืชในนาข้าว:จำลอง ลีสุขสาม เหรียญ ใกล้กลาง มูลนิธิข้าวขวัญ และปรีชา ไชยรักษ์ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไมย์

– การจัดการวัชพืชและศัตรูพืชในแปลงผักและไม้ผล: พลูเพ็ชร สีเหลืองอ่อน กลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต

ผู้ดำเนินรายการ ดร.กฤษฎา บุญชัย

 

15.30-15.45  น. สรุปและกล่าวปิดการประชุม
รับประทานอาหารว่างและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ