สรุปผลกระทบต่อสุขภาพและระบบนิเวศของ Dicrotophos

พญ.วริสรา ลุวีระ,

ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์,

ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์,

ดร.ภญ.นาถธิดา วีระปรียากุล

1.ข้อมูลทั่วไป

เป็นสารกำจัดแมลงชนิด organophosphate acetylcholinesterase inhibitor(1)

2.การจัดระดับความเป็นพิษ

ระดับความเป็นพิษจัดโดยองค์การอนามัยโลก : Ib (Highly Hazardous : อันตรายสูง)(4)

3.สถานการณ์ในต่างประเทศ(5)(6)(7)

  • ประกาศห้ามใช้ ในประเทศอินเดีย ปากีสถาน
  • ยกเลิกการใช้ ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเกิดพิษต่อมนุษย์สูง
  • ไม่มีการขึ้นทะเบียนการใช้ (not registered for use) ในประเทศออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และแคนาดา

4.ข้อมูลในประเทศไทย

  • Dicrotophos เป็นวัตถุมีพิษการเกษตรที่อยู่ในบัญชีเฝ้าระวัง (Watch List) ของกรมวิชาการเกษตร เพราะเป็นวัตถุอันตรายที่มีพิษต่อสุขภาพ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอาจเกิดปัญหาสารพิษตกค้างปนเปื้อนในสินค้าเกษตรไปสู่ผู้บริโภค(7)
  • สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกตรวจพบจากพืชผักส่งออกของไทยในปี 2553 มีถึง 23 ชนิด โดย dicrotophosเป็นหนึ่งในสารที่ตรวจพบ(9)

5.ความเป็นพิษ

การเกิดพิษเฉียบพลัน : อาการที่เกิดจากพิษของ dicrotophos เมื่อได้รับในขนาดสูงแบบเฉียบพลันนั้น จะเกิดอาการภายใน12 ชั่วโมงหลังได้รับสาร โดย

  • อาการที่พบได้บ่อย เช่น ปวดศีรษะ (headaches), อ่อนเพลีย (fatigue), ง่วงงุน (giddiness) คลื่นไส้ (nausea), เหงื่อออก (sweating), ตามัว (blurred vision),  แน่นหน้าอก (tightness in the chest), ปวดท้องอย่างกะทันหัน (abdominal cramps), อาเจียน (vomiting), ท้องเสีย (diarrhea)
  • ในรายที่ได้รับพิษมากขึ้นจะมีอาการเช่น หายใจลำบาก (difficult breathing). สั่น (tremors), ชัก (convulsions), ล้มหมดสติ (collapse), โคม่า (coma), ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) และระบบหายใจล้มเหลว (respiratory failure) ตามมาได้
  • เมื่อได้รับพิษจาก dicrotophos มากขึ้น อาการแสดงของ cholinesterase inhibition จะชัดเจนขึ้น เช่น ม่านตาหดเล็กมากเท่ารูเข็ม (pinpoint pupils), หายใจเร็วในลักษณะของหอบหืด (rapid, asthmatic type breathing), อ่อนเพลียมาก (marked weakness), เหงื่อออกมาก (excessive sweating), น้ำลายมาก(excessive salivation), ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema)
  • ในมนุษย์ การได้รับแบบเฉียบพลันจากการกินและการหายใจ พบว่า LOAEL (ปริมาณของสารเคมีที่น้อยที่สุด ซึ่งได้รับทุกวันแล้วทําให้เกิดความเป็นพิษหรือผลเสียต่อร่างกาย) = 0.5 mg/kg/day ในด้านเข้าทางผิวหนัง LOAEL อยู่ที่ 2.0 mg/kg/day

การเกิดพิษเรื้อรัง

  • พบในรายที่ได้รับสารเป็นเวลาซ้ำๆแต่ในขนาดที่ไม่สูงพอที่จะทำให้เกิดพิษแบบเฉียบพลัน  จะมีอาการ เช่น ไม่อยากอาหาร (persistent anorexia), อ่อนเพลีย(weakness), ไม่สบายเนื้อสบายตัว (malaise)
  • ในมนุษย์การได้รับแบบเรื้อรังจากการกินและการหายใจ พบว่า LOAEL ปริมาณของสารเคมีที่น้อยที่สุด ซึ่งได้รับทุกวันแล้วทําให้เกิดความเป็นพิษหรือผลเสียต่อร่างกาย)) = 0.02 mg/kg/day ในด้านเข้าทางผิวหนัง LOAEL อยู่ที่ 2.0 mg/kg/day (45)

6.การศึกษาวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพ

มีการศึกษาหลายการศึกษาที่ยืนยันว่า dicrotophos มีพิษต่อสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ได้ดังนี้

การเกิดพิษเฉียบพลัน

  • พบมีการเกิดพิษเฉียบพลันในหนู (rat) หากได้รับสารโดยวิธีการกินและผ่านทางผิวหนัง พบว่ามีการระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง(14)
  • มีการศึกษาพบว่า Dicrotophos เกิดพิษต่อสัตว์พวกหนู (rodent) กระต่าย และสุนัข ในขนาดต่ำๆ โดยพบว่าหนูตัวเมียจะเกิดพิษแบบเฉียบพลันได้มากกว่าตัวผู้เมื่อได้รับสารทางปาก(14)
  • เมื่อให้หนูกิน dicrotophos ตั้งแต่ 0.04 mg/kg bw/day ขึ้นไป พบว่า น้ำหนักตัวและการกินอาหารลดลง และ plasma ChE, red blood cell AChE, และ brain AChE ถูกยับยั้งด้วย(35,36)
  • เมื่อให้หนูกินสารในระยะเวลา Subchronic or Prechronic Exposure ในขนาด 0.04 mg/kg พบว่ามี Cholinesterase inhibition ทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ plasma เม็ดเลือดแดง และสมอง(14)
  • พิษเฉียบพลันทางปาก : Oral LD 50 Rat = 8 mg/kg female, 11 mg/kg male(3)
  • พิษเฉียบพลันทางผิวหนัง : Dermal LD 50 Rat = 476 mg/kg female, 876 mg/kg male(3)
  • การทำให้ตาเกิดความระคายเคือง : Eye irritation, Rabbit = lesions reversed by 14 days(3)
  • การทำให้ผิวหนังเกิดความระคายเคือง : Skin irritation, Rabbit = no irritation
  • การทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ : Skin sensitization, Guinea pig = strong sensitizer(3)
  • สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมายในการป้องกันกำจัด (Non – target organisms) : มีความเป็นพิษสูงมากต่อนก, มีความเป็นพิษน้อยถึงปานกลางต่อปลา, มีความเป็นพิษสูงต่อผึ้ง(3)

เมื่อได้รับสารเป็นเวลานาน

  • หนูที่กิน dicrotophos ที่ความเข้มข้น 0, 1, 10,และ 100 ppm ในอาหารเป็นเวลา 2 ปี พบว่าเมื่อความเข้มข้นมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น น้ำหนักตัวลดลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสาร, ความเข้มข้นของ cholinesterase ลดลง(17)
  • เมื่อให้หนู (Charles River albino rats) กิน dicrotophos 2 ปีที่ความเข้มข้น 0, 0.05, 0.5, และ5 mg/kg bw/day พบว่า plasma AChE, red blood cell AChE, and brain AChE ถูกยับยั้ง กลุ่มที่มีความผิดปกติจะเป็นกลุ่มที่กินในระดับความเข้มข้นสูง โดยจะมีน้ำหนักตัวและการกินอาหารลดลง สามารถพบอาการสั่นได้เป็นบางครั้ง เมื่อดูทาง histology ในหนูที่เสียชีวิตแล้ว พบว่าเฉพาะกลุ่มที่ได้รับ 5 mg/kg-bw/day ที่จะพบ hepatocellular vacuolation (37)
  • ให้ CD-1 rats กิน dicrotophos เป็นเวลานาน พบว่าจะมี cholinergic signs of toxicity และ เม็ดเลือดขาวจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับสารในขนาด 1.25 mg/kg bw/day และอัตราการตายจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับสารในขนาด 2.0 mg/kg bw  (36)
  • เมื่อให้สุนัขกิน dicrotophos พบว่าที่ 1 ปี จะมีน้ำลายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หากได้รับที่ความเข้มข้น 0.004-0.4 mg/kg และน้ำลายจะมากขึ้นไปอีกร่วมกับมีอาการสั่น หากได้รับที่ระดับ 2.5 mg/kg bw และพบว่า Red blood cell AChE จะถูกยับยั้งโดยมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อได้รับสารในระดับความเข้มข้น 0.4 mg/kg bw.(38)

ผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์และระบบสืบพันธุ์ (teratology and reproduction study)

  • เมื่อฉีดสารเข้าไปในไข่ไก่ พบว่าทำให้เกิด parrot beaks, micromelia, ขาตรง, มีรูปร่างที่ผิดปกติและบวม(19)
  • เมื่อฉีด dicrotophos เข้าถุงไข่แดง (yolk sac) ของไข่ไก่ตัวเมียในระยะฟักไข่ 4 วัน พบว่าทำให้เกิด achondroplasia with tibiotarsus deformities ในตัวอ่อน(20)
  • พบรายงานการเกิดกาลวิรูปในตัวอ่อนของไก่ (Chick embryos) ที่มีอายุ 72 ชม. ในระยะฟักไข่ (Incubation) แล้วมีการให้ Dicrotophos (in ovo) ในปริมาณ 0.2 หรือ 1.0 mg ต่อไข่ แล้วตรวจสอบในวันที่ 5 , 7 และ 10 พบว่า ในวันที่ 10 มีระดับโปรตีนและระดับของ Nicotinamide adenine dinucleotide (NAD) ลดลง พบความผิดปกติที่ปีกและขา ซึ่งบ่งบอกถึงการเกิดกาลวิรูป(47)
  • เมื่อฉีด dicrotophos เข้า hen eggs พบว่าจะไปยับยั้ง chicken embryo kynurenine formamidase (kfase) ซึ่งทำให้ความเข้มข้นของ NAD (Nicotinamide adenine dinucleotide) ในตัวอ่อนลดลง มีขนผิดปกติ และ micromelia(24)
  • พบผลต่อการสร้างกระดูกของตัวอ่อนไก่ จากการศึกษาในตัวอ่อนที่อยู่ในระยะฟักตัวอายุ 5-17 วัน โดยการฉีด dicrotophos 200 microG/ฟอง พบการยับยั้งการเจริญเติบโตของกระดูกขา โดยเริ่มสังเกตพบอาการดังกล่าวในตัวอ่อนที่อยู่ในระยะฟักตัว อายุ 9 วัน(48)
  • เมื่อให้หนูกินอาหารที่มี dicrotophos ในขนาด 2, 5, 15, หรือ 50 ppm (0.1, 0.25, 0.75, and 2.5 mg/kg/day) ใน 2 รุ่น พบว่าอัตราการรอดของลูกจะลดลงที่ 5 ppm. อาการอื่นๆเช่นอ่อนเพลีย (weakness), ผอม(emaciation), และผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง พบที่ 50 ppm (15)
  • พบรายงานผลต่อการสืบพันธุ์ของ dicrotophos ในนก คือทำให้ลดการผลิตไข่ มีผลต่อ ตัวอ่อนของนก มีผลลด Hatchling production และลดความหนาของเปลือกไข่(46)
  • Dicrotophos ทำให้มีความเสี่ยงต่อการสืบพันธุ์ เช่น การผลิตไข่ลดลงใน Northern bobwhite เมื่อให้กิน dicrotophos ความเข้มข้น 1.5 ppm(28)
  • พบรายงานที่ระบุว่า Dicrotophos และสารที่เกิดจากการสลายตัวของมันคือ monocrotophos เป็นพิษต่อสัตว์ปีก และก่อให้เกิดภาวะกาลวิรูปในนก โดยลดจำนวนไข่ที่ฟักภายในครั้งหนึ่งๆ (reduce in clutch size) มีผลต่อลูกอ่อนของนก และตัวอ่อนของไก่(49)
  • พบการก่อให้เกิดกาลวิรูปจากการศึกษาในไข่ไก่ (Leghorn) โดยฟักไข่เป็นเวลา 24, 48 , 72 และ 96 ชม. และฉีด dicrotophos พบว่ากลุ่มที่ได้รับ dicrotophos มีพัฒนาการล่าช้ากว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ และส่วนใหญ่พบความผิดปกติของไขสันหลัง (deformity of the adjacent spinal cord), กระดูกเอว, neural epiphysis, lens vesicle และการบวมของเส้นเลือด (distention of the major blood vessels) อุบัติการณ์และความรุนแรงนี้พบว่าขึ้นอยู่กับขนาดที่ได้รับ(22)
  • มีการศึกษาในกระต่ายที่ความเข้มข้น 0, 1.3, 4.0, 8.0 และ 12 mg/kg bw ในวันที่ 6 – 18 ของการตั้งครรภ์ พบว่า ที่ระดับความเข้มข้นที่ 12 mg/kg bw กระต่ายตายทั้งหมด ที่ระดับ 8 mg/kg/day ส่วนใหญ่เกิด cholinergic signs of toxicity ได้แก่ น้ำลายมากและสั่น  มี 1 ตัวเสียชีวิตในวันที่ 5 โดยมีอาการรุนแรง (44)

การเกิดพิษต่อระบบประสาท (Neurotoxicity:

  • พบพิษเรื้อรังต่อระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ในหนู Rat ที่ได้รับ dicrotophos นานเป็นเวลา 3 เดือน พบว่ามีระดับของการทำงานของเอนไซม์ Acetylcholine esterase ในเลือดและพาสมาลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม(55)

การเกิดพิษต่อยีน (GENOTOXICITY) และการเกิดการกลายพันธุ์ (Mutagenic effect)

  • Dicrotophos เป็นสารที่ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Suspect mutagen)(49)
  • Dicrotophos ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนของ sister chromatid เพิ่มขึ้นในเซลล์เพาะเลี้ยงของ Chinese hamster ovary (15)(42)
  • เกิดการก่อกลายพันธุ์ในเชื้อจุลินทรีย์ E.coli(25)(40)(41)
  • Dicrotophos ทำให้เกิดการกลายพันธ์ใน S. typhimurium strain TA100 ได้(39)
  • พบว่า Dicrotophos ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ใน S. typhimurium ได้หลายสายพันธ์ โดยทำให้เกิด base-pair substitutions หรือ frame-shift mutations (40)
  • Dicrotophos สามารถชักนำให้เกิด mitotic gene conversion ใน S. cerevisiae ได้(43)
  • มีการศึกษาในห้องทดลองพบว่า(54)dicrotophos มีผลต่อ genotoxicity โดย
    • typhimurium TA 97a, TA98, TA100, TA102, and TA1535 จะมีการเปลี่ยนแปลงแบบ revertant อย่างมีนัยสำคัญ
    • ทำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมใน CHO-K1 cells ถี่ขึ้น
    • การชักนำให้เกิด DNA damage ใน HepG2 cells

การก่อมะเร็ง (Carcinogenic effect)

  • มีหลักฐานว่าอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ (Suggestive carcinogenicity) พบรายงานการก่อให้เกิดเนื้องอกในหนู mouse (50)
  • แต่ไม่ได้เป็น carcinogenic ต่อ CD-1 rats ทั้งเพศผู้และเพศเมีย(14)

ผลกระทบต่อนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

  • เมื่อให้ dicrotophos กับกวาง (mule deer buck) 0.75 mg/kg/day โดยการกิน เป็นเวลา 30 วัน พบว่าทำให้สั่นและมีน้ำลายมาก และหากกวาง (buck) ได้ 3.0 mg/kg/day เป็นเวลา 7 วัน พบว่าเสียชีวิต(27)
  • เมื่อนกและเป็ดได้รับสารทางปากอย่างเฉียบพลัน พบว่าจะมีอาการเดินเซ (goose-stepping ataxia), อ่อนแรง (asthenia), ม่านตาหดเล็ก (miosis), มีน้ำลาย(salivation), เหงื่อออก (lacrimation), กล้ามเนื้อเกร็ง (tonic spasms), ท้องเสีย (diarrhea), หายใจเร็ว (tachypnea), ความไม่อยากอาหาร (anorexia), อ่อนแรง (prostration), tetany with wings outstretched, ชัก (convulsions)(27)
  • พบการตายของนก 1,100 ตัว จาก 12 สายพันธุ์ ในเขต Matagorda county รัฐ Texas ในเดือนมี.ค. และ พ.ค. 1982 เนื่องจากพบว่านกได้รับสารเคมีที่ปนกับเมล็ดข้าวในนาข้าว นอกจากนี้ยังพบว่ามีปริมาณ Dicrotophos ตกค้างในระบบทางเดินอาหาร 5.6-14 ppm. และพบ dicrotophos ในเมล็ดข้าว 210 ppm ทั้งนี้พบการตาย ของนกต่อเนื่องไปอีก 3 สัปดาห์(53)

ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ (AQUATIC SPECIES)

  • พบว่าสัตว์น้ำจืดกว่า 14 ชนิด ทั้งปลาและสัตว์เปลือกแข็ง ได้รับอันตรายจาก dicrotophos ที่ใช้กับต้นฝ้าย(28)
  • มื่อหอยนางรมได้รับ dicrotophos ทำให้การเจริญเติบโตของเปลือกลดลง(29)
  • Dicrotophos ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยส่งผลกับสัตว์น้ำจืดมากกว่าสัตว์น้ำเค็ม(28)

ผลกระทบต่อสัตว์โลกอื่นๆ (OTHER TERRESTRIAL SPECIES)

  • Dicrotophos เป็นพิษอย่างมากต่อผึ้ง (honeybees) โดยพบว่าสารที่ตกค้างอยู่บนใบไม้เป็นอันตรายต่อผึ้งได้(30)

การได้รับพิษโดยบังเอิญ (ACCIDENTAL POISONINGS)

  • พบว่าวัวตัวผู้ (bull) หลายตัวป่วย  หลังมีการปล่อย dicrotophos ลงน้ำ ซึ่งวัวเหล่านี้ใช้ดื่ม และบางตัวเสียชีวิต(31)
  • พิษจาก dicrotophos ทำให้มีนกตายไป 30 ตัว (great-tailed grackles) และ rock dove 1 ตัว ที่ West Texas ตรวจพบ dicrotophos 16 and 34 ppm ในระบบทางเดินอาหารของนก2ตัว(31)

อื่นๆ

  • Dicrotophos ก่อให้เกิดพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงของไต (renal-tubular epithelial cell, LLC-PK1) จากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ Lipid peroxidation และ เกิด reactive oxygen species ที่เป็นพิษต่อเซลล์ไต(26)

 

7.กระบวนการเปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ (Biotransformation and kinetics)

  • กลไกหลักที่ใช้ลดการเกิดพิษในคนเป็นกระบวนการ hydrolysis ของ vinyl-phosphate bond ของ dicrotophos หรือการเกิด oxidative metabolism ทำให้ได้ dimethyl phosphate(32)
  • Dimethyl phosphate พบได้ในปัสสาวะกรณีที่ได้รับพิษมาก(33)
  • Dicrotophos ถูกดูดซึมผ่านทางผิวหนังประมาณ 15 %(50)
  • Dicrotophos จะถูกเมตาบอไลท์และสารบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็น monocrotophos โดยปริมาณสาร monocrotophos ในเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายจะพบมากกว่า dicrotophos หลังจากที่ได้รับ dicrotophos 2-3 ชม. พบการกำจัดปริมาณสารทั้งสองออกจากร่างกายจนหมดภายใน 24 ชม นอกจากนี้มีรายงานพบว่า dicrotophos สามารถถูกกำจัดอย่างรวดเร็วในหนู rat ไม่พบการสะสมของ dicrotophos ในสิ่งมีชีวิต แต่มีรายงานการเป็นพิษต่อผึ้ง (honey bee) ปลา และสัตว์น้ำ ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง(51)
  • เมตาบอไลท์ของ dicrotophos ที่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้การได้รับ dicrotophos คือ dimethylphosphate และจากการศึกษาในเด็กที่มีพ่อ/แม่ทำงานในเขตที่มีการใช้สารเคมีกลุ่ม organophosphate ใน California, Mills และ Zahm จะตรวจพบ dimethylphosphate ในปัสสาวะมากกว่าที่พบในพ่อ/แม่ที่ทำงานในพื้นที่ ซึ่งเป็นการระบุถึงโอกาสที่เด็กได้รับสารเคมีและเสี่ยงต่อการเกิดพิษมากกว่าพ่อ/แม่ที่ได้รับสารโดยตรง(52)

8.การสลายตัวในสิ่งแวดล้อม (Environment Fate)

สารหลักที่ได้จากการสลายตัวของ Dicrotophos คือ Monocrotophos ซึ่ง Monocrotophos นี้ถูกห้ามใช้ในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากมีความเป็นพิษสูงต่อคนและสัตว์ป่า(49)

การสลายตัวในดิน :

กลไกการสลายตัวของ Dicrotophos ส่วนใหญ่ในสิ่งแวดล้อมจะเกิดโดยเชื้อจุลินทรีย์ในดิน แล้วมีการเคลื่อนย้ายสารต่างๆ สู่ผิวน้ำหรือแหล่งน้ำใต้ดิน  เมื่อ dicrotophos ลงสู่ผิวดินแล้วจะมีการสลายตัวอย่างรวดเร็วในดินทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีอากาศ (aerobic and anaerobic conditions) ส่วนใหญ่ได้เป็น metabolite คือ N,N-dimethylacetoacetamide โดยในสภาวะที่มีอากาศจะมีค่าครึ่งชีวิตของการสลายตัวเท่ากับ 2.7 วัน ในสภาวะที่ไม่มีอากาศจะมีค่าครึ่งชีวิตของการสลายตัวเท่ากับ 7 วันจากการศึกษาใน Hanford sandy loam soil และจากการศึกษาถึงการดูดซับและการคายสาร dicrotophos จากดินพบว่า dicrotophos ไม่ถูกกัก (mobile) ไว้ในดินที่เป็นทราย ดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ (45)

การสลายตัวในน้ำ (Breakdown in water):

พบการตกค้างของ dicrotophos ในผิวน้ำที่สุ่มตรวจทุกสัปดาห์ในช่วงเดือน ม.ค. – ธ.ค. 1996 จากบริเวณ Mississippi Embayment โดยพบปริมาณตกค้างสูงถึง 35 % จากเขตที่มีการใช้มากถึง 0.7 ล้านปอนด์ ในการปลูกฝ้าย เนื่องจาก dicrotophos สามารถละลายในน้ำได้มากถึง 1,000 mg/L(56)

การสลายตัวในพืช (Breakdown in vegetation) :

พบว่าพืชดูดซับสาร dicrotophos มากกว่า 50 % ใน 8 ชม.(59)


 

References

 

(1) “DICROTOPHOS” Oregon State University, Cited in  http://extoxnet.orst.edu/tibs/cholines.htm.   (Searched on April 14, 2011).

(2) Dicrotophos Suppliers & Manufacturers, Cited in   http://www.chemicalregister.com/Dicrotophos/Suppliers/pid5123.htm. (Searched on April 14, 2011).

(3) U.S. EPA, Interim Reregistration Eligibility Decisions (IREDs) for Dicrotophos, 4/2002.

(4) Pesticides used on cotton.The Journal of the Pesticides Trust, June 1995; 28:23.

(5) PAN, Cited in http://www.pesticideinfo.org/Detail_ChemReg.jsp?Rec_ID=PC35045(Searched on

April 9, 2011).

(6) Output Reporting USEPA/OPP Chemical Information, Cited in http://www.cdpr.ca.gov(Searched on April 14, 2011)

(7) ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, นุศราพร เกษสมบูรณ์, นาถธิดา วีระปรียากูร. 6 สารเคมีอันตราย : ภัยคุกคามสุขภาพคนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : เครือข่ายสาขานโยบายการเกษตรและชนบท แผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและระบบการประเมิน ผลกระทบทางสุขภาพ (HPP-HIA) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), 2547.

(8) เปิดพืช 16 ชนิดถูกระงับส่งอียู”พริกขี้หนู-ตระกูลมะเขือ” ไม่เว้น”พรทิวา”ค้านหวั่นกระทบส่งออก.หนังมติชนออนไลน์ วันที่ 7 มกราคม 2554. เข้าถึงได้จาก :  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1294367043&grpid=00&catid=05. (วันที่ค้นข้อมูล 16 พฤษภาคม 2554).

(9) มูลนิธิชีววิถี. วิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืช : ความเป็นจริงจากมุมมองของสหภาพยุโรป,. เข้าถึงได้จาก : http://www.biothai.net/sites/default/files/BriefingPesticide10Feb11_FINAL.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 18 พฤษภาคม 2554).

(10) occupational safety and health guideline for dicrotophos, Cited in http://www.cdc.gov/niosh/docs/81-123/pdfs/0203.pdf. (Searched on May 14, 2011).

(11)IPCS; Poisons Information Monograph G001: Organophosphorus pesticides, (11) IPCS; Poisons Information Monograph G001: Organophosphorus pesticides, Cited in http://vpn.kku.ac.th/documents/pims/chemical/,DanaInfo=www.inchem.org+pi….(Searched on May 12, 2011)

(12) International Labour Office. Encyclopedia of Occupational Health and Safety. 4th edition, 1998;1-4p.62.

(13) USEPA Office of Pesticide Programs, Health Effects Division, Science Information Management Branch: “Chemicals Evaluated for Carcinogenic Potential”. April 2006.USEPA Office of Pesticide Programs, Health Effects Division, Science Information Management Branch: "Chemicals Evaluated for Carcinogenic Potential" , April 2006.

(14) USEPA Office of Pesticide Programs; Revised Health Effects Division (HED) Risk Assesment of Dicrotophos, October 1999.

(14)USEPA/Office of Pesticide Programs; Revised Health Effects Division (HED) Risk Assessment of Dicrotophos, October 1999.

(15) Bingham, E.; Cohrssen, B.; Powell, C.H.; Patty’s Toxicology Volumes 1-9 5th  ed. John Wiley & Sons. New York, N.Y. 2001;7:826.

(16) Johnson JC Jr, Bowman MC; J Dairy Sci 1968; 51 (8): 1225-1228.Johnson JC Jr, Bowman MC; J Dairy Sci 1968;51 (8):1225-1228 .

(17) American Conference of Govermental Industrial Hygienist. Documentation of Threshold Limit Values for Chemical Substances and Physical Agents and Biologial Exposure Indices for 2001. Cincinnati, OH. 2001:2.

(18) Tomlin CDS, ed. Dicrotophos (141-66-2)_. In: The e-Pesticide Manaul, version 2.2 (2002). Surrey UK, British Crop Protection Council.Tomlin CDS, ed. Dicrotophos (141-66-2). In: The e-Pesticide Manual, Version 2.2 (2002). Surrey UK, British Crop Protection Council.

(19) Shepard, T.H. Catalog of Teratogenic Agents. 3rd ed. Baltimore, MD.: Johns Hopkins University Press: p. 38:1980.

(20) Meiniel R et al; Toxicol Eur Res 1979;2(3): 133-140.2(3):133-140 :

(21)Bus JS, Gibson JE; Food Cosmet Toxicol 1974;12(3):313-333.

(22) Bus JS, Gibson JE; Food Cosmet Toxicol 1974;12(3): 313-333.Garrison JC, Wyttenbach CR; Anat Rec 1985;213(3):464-472.

(23) American Conference of Govermental Industrial Hygienist. Documentation of Threshold Limit Values, 4th ed., 1980. Cincinati, Ohio: American Conference of Govermental Industrial Hygienist, Inc, 1980, pp 137.

(24) Moscioni, A. D., Engel, J. L., Casida, J. E. Kynurenine formamidase inhibition as a possible mechanism for certain teratogenic effects of organophosphorus and methylcarbamate insecticides in chicken embryos. Biochemical Phamacology 1977;26(23):2251-2258.

(25) Mohn G; Mutat Res 1973; 20:7-15.Mohn G; Mutat Res 1973;20:7-15.

(26) Poovala VS et al; J Am Soc Nephrol 1999; 10:1746-1752.Poovala VS et al; J Am Soc Nephrol 1999;10:1746-1752.

(27) U.S. Department of the Interior, Fish and Wildlife Service. Handbook of Toxicity of Pesticides to Wildlife. Resource Publication 153 Washington, DC: U.S. Goverment Printing Office, 1984, pp 31.U.S. Department of the Interior, Fish and Wildlife Service. Handbook of Toxicity of Pesticides to Wildlife. Resource Publication 153. Washington, DC: U.S. Government Printing Officep, 1984,pp 31.

(28) USEPA/Office of Pesticide Programs; Interim Reregistration Eligibility Decision Document-Dicrotophos, April 2002.

(28)USEPA/Office of Pesticide Programs; Interim Reregistration Eligibility Decision Document – Dicrotophos, April 2002.

(29) USEPA/Office of Pesticide Programs; EFED RED Chapter for Dicrotophos, November 1999.USEPA/Office of Pesticide Programs; EFED RED Chapter for Dicrotophos, November 1999.

(30) Dicrotophos.Dicrotophos. Cited in http://vpn.kku.ac.th/pesticides/registration/,DanaInfo=www.epa.gov+statu…(Searched on May 12, 2011).

(31)USEPA/Office of Pesticide Programs; Dicrotophos- Attachment to the Overview Summary of the Risk Assessments, June 2000.

(32) He F. Biological monitoring of occupational pesticides exposure. Occup Environ Health 1993; 65:69-76.

(33) Lores EM, Bradway DE, Moseman RF. Organophosphorus pesticide poisonings in humans:determination of residues and metabolites in tissues and urine. Arch Environ Health 1978; 33: 270-276.

(34) Gaines TB. Acute toxicity of pesticides. Toxicol Appl Pharmacol 1969; 14:515-534.

(35) Hazard Identification Assesment Review Committee. Hazard assessment of the organophosphates. Washington DC, USA: US Environmental Protection Agency, Office of Pesticide Programs, Health Effect Division, 1998.

(36) Hrdy DE. Dicrotophos (Chemical No: 035201; List A, Reregistration Case No. 0145). HED revision to risk assessment for reregistration eligibility document (RED). Washington DC, USA: US Environmental Protection Agency, Health Effects Division (7509C), 1999.

(37) Howard DJ, Donoso J, Johnston CD. Bidrin. Safety evaluation by a chronic feeding study in the rat for two years. Final report. Herndon VA, USA: Woodard Research Corporation, 1967.

(38) Johnston CD, Thompson WM, Donoso J. Bidrin: Safety evaluation by a chronic feeding study in the dog for two years. Final report. Herndon VA, USA: Woodard Research Corporation, 1967.

(39) Breau AP, Mitchell WM, Swinson J, et al. Mutagenic activity and cell transformation activities of representative phosphorothioate esters in vitro. J Toxicol Environ Health 1985; 16:403-413.

(40) Wild D. Mutagenicity studies on organophosphorus insecticides. Mutat Res 1975; 32:133-50.

(41) Hanna PJ, Dyer KF. Mutagenicity of organophosphorus compounds in bacteria and Drosophila. Mutat Res 1975:405-420.

(42) Nishio A, Uyeki EM. Induction of sister chromatid exchanges in Chinese hamster ovary cells by organophosphate insecticides and their oxygen analogs. J Toxicol Environ Health 1981; 8:939-946.

(43) Fahrig R. Demonstration of a genetic effect of organophosphate insecticides. Experientia 1973; 60:50-51.

(44) Dix KM, Wilson AB, McCarthy WV. Toxicity studies with Bidrin: Teratological studies given Bidrin orally. London, UK: Shell Research Ltd, 1973.

(45) Interim Reregistration Eligibility Decision for Dicrotophos Case No.0145. Cited in http://www.epa.gov/oppsrrd1/REDs/dicrotophos_ired.pdf(Searched on April 19, 2011).

(46) US EPA, 2002, Cited in http://www.epa.gov/oppsrrd1/Eds/factsheets/dicrotophos_fs.htm. (Searched on April 10, 2011).

(47) Kitos, P. A., Anderson, D. S., Uyeki, E. M., Misawa, M., Wyttenbach, C. R. Teratogenic effects of cholinergic insecticides in chick embryos-II Effects on the NAD content of early embryos. Biochemical. Pharmacology 1981; 30(16):2225-2235.

(48) Misawa, M., Doull, J., Uyeki, E. M. Teratogenic effects of cholinergic insecticides in chick embryos. III. Development of cartilage and bone. J. Toxicol. Environ. Health 1982;10(4-5):551-563.

(49) Quick Fact, Cited in http://abcbirds.org/pesticides/Profiles/dicrotophos.htm (Searched on April 9, 2011).

(50) US Environmental protection agency. 1999, Cited in http://www. epa.gov (Searched on April 12, 2011).

(51) Environmental Assessment, United States Department of Agriculture. 2003, Cited in www.aphis.usda.gov/ppd/es/pdf%20files/mieabea.pdf (Searched on April 6, 2011).

(52) Wessels, D., Barr, D. B., Mendola, P. Use of biomarker to indicate exposure of children to organophosphate pesticides: implications for a longitudinal study of children’s environmental health. Environmental Health Perspectives 2003; 111(16):1939-1946.

(53) Flickinger, E. L., White, D. H., Mitchell, C. A., Lamont, T. G. Monocrotophos and dicrotophos residues in birds as a result of misuse of organophosphates in Matagorda County, Texas. J Assoc Off Anal Chem 1984; 67(4):827-828.

(54) Wu JC, Chye SM, Shih MK, Chen CH, Yang HL, Chen SC. Genotoxicity of dicrotophos, an organophosphorous pesticide, assessed with different assays in vitro. Environ Toxicol,2010.

(55) Maxwell, I. C., Le Quesne, P. M. Neuromuscular effects of chronic administration of two organophosphorous insecticide to rats. Neurotoxicology 1982; 3(1):1-10.

(56) Thurman, M. E., Zimmerman, L. R., Scribner, E. A., Coupe Jr., R. H. Occurrence of cotton pesticides in surface water of the Mississippi Embayment. USGS Fact Sheet 022-98, 1998.

(57) EXTONET, Cited in http://pmep.cce.cornell.edu/profiles/extoxnet/carbaryl-dicrotophos/dicrotophos-ext.html (Searched on April 9, 2011).